logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่อุบลราชธานี
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

จังหวัดอุบลราชธานี 

ตราประจำจังหวัดอุบลราชธานี

 

รูปดอกบัวตูม และดอกบัวบาน ชูช่อก้านใบเหนือหนองน้ำ เป็นสัญลักษณ์ ระลึกถึงชาวเมืองหนองบัวลำภู ในเขตจังหวัด อุดรธานี..และเป็นจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน ภายใต้การนำของพระวอและบุตรหลานพระตา ที่อพยพหนีภัยสงครามกับเมืองเวียงจันทน์ ลงมาตั้งรกรากในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อประมาณ พ.ศ.2312 ต่อมาชุมชนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "เมืองอุบลราชธานี ศรีวนาลัย" เมื่อเดือน 8 แรม 1 ค่ำ ปีชวด พ.ศ.2335 ในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชองค์ปฐม บรมราชจักรีวงศ์ เป็นสัญลักษณ์ให้ระลึกถึงชาวเมืองหนองบัวลุ่มภู  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ของนครเวียงจันทร์ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี   

 

คำขวัญจังหวัดอุบลราชธานี

เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี

มีปลาแซบหลาย  หาดทรายแก่งหิน

ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม

งามล้ำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์

 

ธงประจำจังหวัดอุบลราชธานี

ด้านบนของธง จะมีรูปดอกบัวสีชมพูบาน ปักอยู่บนพื้นสีชมพู ด้านล่าง จะมีอักษรสีขาวคำว่า  "อุบลราชธานี"  ปักอยู่บนพื้นสีเขียว

 

ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อพรรณไม้: ยางนา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dipterocarpus alatus

 

เมื่อปี พ.ศ. 2319 เจ้าพระวอ อพยพไพร่พลจากนครจำปาศักดิ์ (ประเทศสาธารณรัฐประชาธิบไตยประชาชนลาว) ตั้งมั่นอยู่ที่ดอนมดแดงริมฝั่งแม่น้ำมูล และมีหนังสือขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้าสิริบุญสาร (เจ้าเมืองนครเวียงจันทร์) ทราบเรื่องจึงแต่งตั้งให้พระยาสุโพ คุมกองทัพมาตีพระเจ้าวอดอนมดแดง แล้วล้อมจับพระเจ้าวอได้ จึงให้ประหารชีวิตเสีย

ท้าวก่ำ บุตรพระเจ้าวอ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม บุตรพระเจ้าตา หลบหนีไปได้ และแจ้งเรื่องมายังเมืองนครราชสีมา ให้นำความกราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีเพื่อขอกำลังไปช่วย ในปี พ.ศ. 2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ยกกองทัพไปตีเมืองจำปาศักดิ์และเวียงจันทร์ แล้วยึดเมืองทั้งสองไว้และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางมายังกรุงธนบุรี พร้อมกับคุมตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ลงมาด้วย

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดฯ ให้เจ้านครจำปาศักดิ์กลับไปครองจำปาศักดิ์ ดังเดิมโดนเป็นเมืองประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรี นับแต่นั้นมา ท้าวคำผง  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้ตั้งเป็นพระปทุมสุรราชภักดี ขึ้นกับเมืองจำศักดิ์

ในปี พ.ศ. 2323 เมืองเขมรเกิดการจลาจล พระปทุมฯ ท้าวทิดพรหม และ ท้าวคำสิงห์ ได้ร่วมกันยกทัพไปปราบพร้อมกับเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แต่ก็เกิดเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรีเสียก่อน  พระปทุมฯ จึงได้ติดตามกองทัพไปกรุงธนบรีด้วย

การสถาปนาเมืองอุบลราชธานี 

ครั้นเมื่อสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ มีพระประสงค์จะรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงเพื่อความสงบสุข และเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบาย พระปทุมฯ จึงขอพระราชทานย้ายครอบครัวไปตั้งภูมิลำเนาที่บ้านห้วย  แจะระแม (ใกล้กับเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน) และท้าวคำสิงห์ย้ายไปอยู่บ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร)

ต่อมาได้เกิดกบฏอ้ายเชียงแก้ว ชาวเมืองโขง ซึ่งแสดงตนเป็นผู้วิเศษ ยกกำลังไปล้อมเมืองจำปาศักดิ์ ขณะที่เจ้านครจำปาศักดิ์กำลังประชวรหนัก พระปทุมสุรราชภักดี และท้าวฝ่ายหน้าพากันยกกำลังไปปราบปะทะกับอ้ายเชียงแก้วที่แก่งตะนะ จับอ้ายเชียงแก้วได้จึงประหารชีวิตเสีย เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบในการทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ท้าวฝ่ายหน้า บุตรเจ้าพระตา เป็นเจ้าพระวิไชยราชขัตติยวงศา ครองนครจำปาศักดิ์สืบแทนพระเจ้าองค์หลวง และให้พระประทุมสุรราชภักดี เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์  ยกฐานะบ้านแจะระแม ขึ้นเป็น เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย เมื่อวันทร์จันทร์เดือน 8 แรม 13 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2335 ต่อมาพระปทุมฯ เห็นว่าบ้านแจะระแม ไม่เหมาะที่จะตั้งเป็นเมืองใหญ่ จึงได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือนที่ ตำบลบ้านร้าง เรียกว่า ดงอู่ผึ้ง ริมฝั่งแม่น้ำมูล อันเป็นที่ตั้งเป็นของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน พร้อมกับได้สร้างวัดหลวงขึ้นเป็นวัดแรก

เมืองอุบลราชธานีได้มีเจ้าเมืองสืบทอดกันมาถึง 4 คน  ตราบจนถึง 2425  จึงได้มีการแต่งตั้งข้าหลวงและผู้ว่าราชการจังหวัด  ดูแลการปกครองจนถึงปัจจุบัน

4 มกราคม 2562 | จำนวนเข้าชม 7572 ครั้ง